รวม อัตราส่วนทางการเงิน
รวม อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)
คำอธิบายอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) สูตรในการคำนวณแสดงวิธีทำอย่างละเอียด
การวิเคราะห์ค่าที่ได้ การนำมาใช้งาน ข้อควรระวัง ทั้งหมดรวบรวมไว้ที่นี่
เกริ่นนำ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)
อัตราส่วนทางการเงิน เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ งบการเงิน
ทำให้เห็นภาพรวมของบริษัท และความสามารถในการทำกำไรในเชิงเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น
อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบผลกำไรขั้นต้นกับยอดขาย
ทำให้สามารถประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
อัตรากำไรสุทธิ (NPM) แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิ เปรียบเทียบกับยอดขาย
ทำให้ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิของกิจการภายหลังจากการหักค่าใช้จ่ายทุกรายการแล้ว
ROA อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม
ROA (Return On Assets) แสดงความสามารถในการทำกำไรเทียบกับสินทรัพย์ที่มี
ว่าก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับคืนมามากน้อยเพียงใด แสดงถึงความเก่งของกิจการ
ROE อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
ROE (Return On Equity) แสดงความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของ (ทุน)
บอกความเก่งของกิจการได้ แต่ต้องอย่าลืมดูหนี้สินประกอบด้วย
อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์
Assets Turnover อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน
อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน (Assets Turnover Ratio) ใช้วัดความสามารถของบริษัทในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมี
อัตราส่วนทางการเงิน คือ
อธิบายถึงฐานะความมั่นคงทางการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ เป็นการนำตัวเลขจากงบการเงินที่เกี่ยวข้องกันมาหาอัตราส่วนต่างๆ
เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกิจการในอดีต
ช่วยให้เข้าใจสุขภาพทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ข้อดี
ทำให้ประเมินฐานะทางการเงิน และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในเชิงเปรียบเทียบได้ง่าย
โดยอาจนำมาเปรียบเทียบกับกิจการในอดีต หรือเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมได้
การเปรียบเทียบกับกิจการในอดีต
ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของฐานะการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของปัญหาที่จะเกิดขึ้น
การเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง
ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และความสามารถผู้บริหารของธุรกิจประเภทเดียวกัน
(หมายเหตุ ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนการเปลี่ยบเทียบ เพราะแต่ละบริษัทอาจมีการใช้นโยบายทางบัญชีที่ต่างกัน)
ใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายทางธุรกิจ
ว่าเป็นไปตามที่ผู้บริหารได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะได้ทำการหาสาเหตุและแก้ไขต่อไป
สะดวกต่อการวิเคราะห์งบการเงิน
ผู้ใช้งบการเงินหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น
ข้อควรระวัง
รวมรายการที่ผิดปกติไว้ด้วย
อัตราส่วนทางการเงินเป็นการคำนวณจากตัวเลขในงบการเงินโดยตรง ซึ่งรวมรายการที่ผิดปกติไว้ด้วย
เช่น กำไรพิเศษจะถูกรวมไว้ในงบการเงินแล้ว เมื่อนำมาคำนวณอัตราส่วนทำให้สูงกว่าปกติ หากไม่เจาะลึกลงในรายละเอียดทำให้เข้าใจผิดได้
- เช่น บางปีบริษัทขายที่ดินออกไปทำให้มีกำไรสูงกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับปีปกติได้ ดังนั้นหากจะนำมาวิเคราะห์ ควรหักกำไรส่วนนี้ออกเสียก่อน
- หรือ มีการตั้งสำรองต่างๆ ทำให้ อัตราการทำกำไรแย่กว่าปีก่อน
ไม่ควรเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินข้ามอุตสาหกรรมที่มีลักษณะธุรกิจแตกต่างกัน
ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ แต่ถึงแม้จะเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก็ควรดูรายละเอียดประกอบด้วย
เพราะแต่ละบริษัทก็มีธรรมชาติในการประกอบธุรกิจไม่เหมือนกันซะทีเดียว รวมถึงนโยบายทางบัญชีที่แตกต่างกันได้
- เช่น ธุรกิจขายบ้านจัดสรร กับธุรกิจค้าปลีก ย่อมมีอัตราทำกำไรที่ต่างกัน โดยเบื้องต้นไม่สามารถใช้อัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบกันโดยตรงได้
- ควรเข้าใจลักษณะธุรกิจ (Business Model) ประกอบด้วย
— กำลัง update ส่วนที่เหลือ ครับ —
สนใจศึกษาการอ่านงบการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่
- ความรู้ เริ่มต้นอ่านงบการเงิน (ฟรี)
- VDO และ Clip สอนอ่านงบการเงิน (ฟรี)
- หนังสืออ่านงบการเงิน
- สัมมนาอ่านงบการเงิน
ขอขอบคุณครับ
Mr.LikeStock