หุ้น CPANEL – สรุป OPPDAY 2021Q4
สรุปประเด็นสำคัญ
– ผลิตภัณฑ์หลัก คือ แผ่น Precast ทั้งระบบ Fully automated จุดเด่นคือดำเนินการแบบ Just in time และแบบ Manual precast ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องออกแบบเพื่อรองรับงานสถาปัตย์ โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ Auto 84% และ Manual 16.5% ซึ่งสัดส่วน Manual สูงขึ้นจากปีก่อน เพราะปีที่แล้วบ้านเดี่ยว Hi-end ขายได้เยอะ
– กลุ่มลูกค้าแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Developer อสังหา (บริษัทที่สามารถผลิต Precast ใช้เองก็มาเป็นลูกค้าด้วย) 86% และผู้รับเหมาก่อสร้าง 13%
– สัดส่วนประเภทโครงการแบ่งเป็นแนวราบ 88.5% แนวสูง 6% และโรงงาน 5.5% ที่ผ่านมาแนวราบ 90% กว่ามาโดยตลอด แต่ปีที่แล้วแนวสูงและโรงงานเริ่มกลับมาขยายตัว ตามโครงการใน EEC และแนวสูงกลับมาในรูปแบบของ low rise ทั้งหมด
– สัดส่วนแนวราบเริ่มมีการเปลี่ยนไปคือบ้านเดี่ยวมีสัดส่วนที่ลดลง และสัดส่วนทาวน์เฮ้าส์ขึ้นมาเป็นสัดส่วนหลักคือเกือบ 50% (แต่ยอดขายรวมเติบโตขึ้น)
– สัดส่วนของแนวสูงทั้งหมดเป็น Low rise ไม่มี High rise เลย และเริ่มเห็น Trend ว่าสัดส่วนต่อ 1 ตึกเริ่มมีอัตราส่วนการขายไปถึง 30% ได้เลยในตึกใหม่ จากเดิมที่ไม่ถึง 10%
– กำลังการผลิตต่อปี อยู่ที่ 720,000 ตร.ม. อยู่ที่จังหวัดชลบุรี โดยมี U-rate ดังนี้
ปี 62 = 66%
ปี 63 = 44%
ปี 64 = 60%
– Backlog ณ สิ้นไตรมาส 1 อยู่ที่ 1,203 ลบ. จะมีเซ็นเพิ่มอีก 53 ลบ. ในเดือนนี้แบ่งรับรู้รายได้ในปีนี้ 673 ลบ. และปีหน้า 536 ลบ.
– GPM ดีขึ้นมาตลอด 4 ปีติด แม้ในปีที่แล้วที่ราคาเหล็กขึ้นมา 60% YTD และ GPM ปีล่าสุดอยู่ที่ 36.37%
– NPM ปีที่แล้วอยู่แถว 10% แม้จะมีการระบาดของโควิด ปีนี้มองว่าดีขึ้นแน่นอน และถึงแม้ต้นทุนวัสดุก่อสร้างจะสูงขึ้น แต่ CPANEL สามารถบริหาร Cost ได้ดี และสามารถส่งต่อให้กับลูกค้าได้ ทำให้ยังคง Margin ได้ในระดับเดิม
– D/E 0.57 เท่า ลดลงเยอะเพราะเพิ่ง IPO เข้ามา
- ภาวะอุตสาหกรรม
– ผลจากการปลดล็อค LTV จะเห็นในปีนี้
– Construction demand หรือการขออนุญาตก่อสร้างปีนี้คาดว่า +6.1% และการโอนปีนี้คาดว่า +25.1% ที่สำคัญปีนี้เป็นปีแรกในรอบหลายปีที่ยอดการขออนุญาตก่อสร้างสูงกว่ายอดโอน เกิดจาก Stock การขายหมดลง
– มีการขาดแคลนแรงงานต่อเนื่อง จาก Peak สุดในช่วงปี 2018 และลดลงมาเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบัน (Trend นี้เกิดก่อนโควิด) ถือเป็นข้อได้เปรียบของ CPANEL
– ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเยอะจากเงินเฟ้อและสงคราม
– เทรนด์ของราคาอสังหาจะเริ่มปรับตัวขึ้นจากต้นทุนใหม่ที่สูงขึ้น หากอ้างอิงใน Location เดียวกันปีนี้ราคาอสังหาฯจะสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 16%
- การลงทุนใหม่
– ก่อสร้าง Phase 2 ในพื้นที่ติดกับโรงงานเดิม กำลังการผลิตอย่างน้อย 720,000 ตร.ม. มีมูลค่าการลงทุนไม่เกิน 500 ลบ. (ไม่มีค่าที่ดิน) เริ่มผลิตได้ช่วงไตรมาส 1 ของปี 2567
Q&A
– Backlog เซ็นต์กับลูกค้า มีเงื่อนไขที่คุยกับลูกค้าไว้แล้วว่าหากราคาวัตถุดิบสูงขึ้นสามารถปรับราคาขายขึ้นได้
– ราคาสินค้า Commodity ที่ขึ้นไม่ได้กระทบกับงบลงทุนในโรงงานใหม่ เพราะเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือ Hi-tech ที่ไม่ได้ขยับตามราคาสินค้า Commodity มากนัก
– รายได้ที่รับรู้ในไตรมาส 4/64 ต่ำกว่า Backlog ที่ควรรับรู้ เพราะเกิดเหตุการณ์ขาดแรงงานที่หน้าไซด์งาน คาดว่าจะคลี่คลายภายในไตรมาส 2 ปีนี้
– การปรับราคากับลูกค้าจะทำให้ Margin ของบริษัทดีขึ้น เพราะต้นทุนส่วนใหญ่เป็น Fixed cost ซึ่งไม่ได้เพิ่มขึ้น
– ปีนี้กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน่าจะดีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น CPANEL เองผู้รับเหมา รวมถึง Developer อสังหาฯ
– ลูกค้ากลุ่มโรงงานรอการ Re-opening ประเทศ เห็น Demand แล้ว น่าจะเข้ามาช่วงหลังสงกรานต์
– เหตุผลที่บริษัทอสังหาหลายเจ้าที่มีการผลิต Precast เป็นของตัวเองก็ยังมาใช้บริการ CPANEL ส่วนตัวของผู้บริหารคิดว่า Core หลักของธุรกิจอสังหาฯ คือการทำ Marketing (แบรนด์) และการซื้อที่ดินให้ได้ราคาดี ส่วนการก่อสร้างก็ให้คนที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง CPANEL ซึ่ง concentrate ในเรื่องนี้เป็นคนทำแทน โดยรวมแล้วบริษัททั้ง 2 ฝ่ายจะได้กำไรที่สูงกว่า
– Q1/65 ไม่มีประเด็นการขาดแคลนแรงงาน ลูกค้าสามารถปรับตัวได้แล้ว
กราฟกำไรรายไตรมาส
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
Line : https://MrStock.me/line( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)