วิลเลียม โอเนล เจ้าของกลยุทธ์ CANSLIM
ในปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มมาให้ความสนใจ การลงทุนหุ้นแนวผสมระหว่างปัจจัยพื้นฐาน และกราฟเทคนิค หากนึกชื่อผู้ที่สำเร็จเป็นที่โด่งดังจากการผสมผสาน 2 เทคนิคคงหนีไม่พ้น “วิลเลียม โอเนล” เจ้าของกลยุทธ์ CANSLIM วันนี้ Mr.LikeStock จะพาเพื่อนๆ มารู้จักเขาคนนี้กัน
ประวัติ
วิลเลียม เจ โอนีล เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 1933 ที่โอคลา โฮมา และเติบโตในแท็กซัส ในปี 1951 ในวัยเด็กโอนีลศึกษาอยู่ที่โรงเรียนมัธยมวูดโรว์วิลสัน สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี คณะธุรกิจ มหาลัย Southern Methodist ในปี 1955 หลังจากเรียนจบก็รับใช้ชาติทำหน้าที่ในกองทัพอากาศสหรัฐ
เส้นทางอาชีพ
โอนีลเริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่ Hayden, Stone&Company และเป็นคนแรกๆที่พัฒนากลยุทธ์การลงทุนโดยใช้คอมพิวเตอร์ ในปี 1960 โอนีลได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อที่มหาลัยฮาวาร์ด หลักสูตร Management Development (PMD) จากการวิจัย โอนีลได้สร้างกลยุทธ์ CAN SLIM ในการลงทุนและกลายผู้ที่ทำผลงานดีที่สุดในบริษัท ในระหว่างปี 1962 – 1963 เขาได้พิสูจน์แนวคิดตัวเอง จากเงินเริ่มต้น 5,000 ดอลลาร์ ขึ้นไปเป็น 200,000 ดอลลาร์ หรือคิดเป็น 40 เท่าภายในเวลา 1 ปีจากความสำเร็จ ทำให้โอนีลสามารถซื้อที่นั่งในตลาด NYSE ได้ ตอนอายุ 30 ปี และกลายเป็นบุคคลที่มีอายุน้อยที่สุด ณ เวลานั้น
ในปี 1963 โอนีล ได้ก่อตั้งบริษัท วิลเลียม โอนีล แอด์โค เป็นบริษัทโบรกเกอร์เพื่อทำการวิจัย นำเสนอข้อมูลต่างๆ ของตลาดหุ้น ขายงานวิจัยให้แก่นักลงทุนสถาบัน และมีการติดตามบริษัทกว่า 70,000 แห่งทั่วโลกสิ่งที่โดดเด่นในธุรกิจของเขา คือ การออกหนังสือพิมพ์ Investors’ Day แข่งกับ Wall Street Journal
ในระหว่างทำธุรกิจผลงานการเทรดของเขาก็ไม่ได้ด้อยแม้แต่น้อย ในช่วง 10 ปี ในการทำธุรกิจ โอนีล มีผลกำไรต่อปีเฉลี่ยมากกว่า 40% จากการลงทุนของเขา ในปี 1988 โอนีลได้รวบรวมแนวคิดของเขาออกมาเป็นหนังสือ “How to Make Money in Stocks” ซึ่งได้ความตอบรับดีจากทั่วโลก
แนวคิด CANSLIM โดยตัวอักษรเหล่านี้ย่อมาจาก
C = Current Quarterly Earnings and Sales per Share
กำไรและยอดขายต่อหุ้นไตรมาสปัจจุบันสูง หรือมีการเติบโตมากขึ้น
– กำไรต่อหุ้นประจำไตรมาสจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20-50 % เมื่อคิดแบบปีต่อปี
A = Annual Earning Increases
กำไรประจำปีที่เพิ่มขึ้น
– กำไรในปัจจุบันและย้อนหลัง 5 ปีของบริษัทเหนือกว่าบริษัทอื่น ๆ อีก 95% ที่เหลือ
N = Newer Companies, New Products etc
มีเรื่องราวใหม่ๆ
– เรื่องใหม่อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการแบบใหม่
การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม หรือทีมบริหารใหม่
S = Supply and Demand
ปริมาณหุ้นที่มีอยู่ในตลาด
– หุ้นขนาดกลางเล็กที่มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนในตลาดหุ้นที่สูง เพราะราคาถูกขับเคลื่อนได้ง่าย
L = Leader of Laggard
หุ้นผู้นำ หรือผู้ตาม
– เลือกซื้อหุ้นผู้นำตลาด หุ้นนำตลาดคือหุ้นที่เป็นขาขึ้น ก่อนตลาด
I = Institutional Sponsorship
การสนับสนุนจากสถาบัน
– ผู้ซื้อกลุ่มสถาบันเป็นแหล่งของอุปสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้น
หุ้นที่เป็นผู้นำตลาดมักจะมีสถาบันให้การหนุนหลังอยู่
M = Market Direction
ทิศทางตลาด
– คุณจะต้องอยู่ในทิศทางเดียวกับตลาด โดยศึกษาพฤติกรรมราคาและปริมาณการซื้อขายของดัชนี
Mr.LikeStock หวังว่าเพื่อนๆ มีมุมมองในการลงทุนกว้างขึ้น จากประวัติวิลเลียม โอนีล แม้วิธีการลงทุนเขาไม่เหมือนนักลงทุน VI ก็สามารถประสบความสำเร็จได้จากการที่เขาทุ่มเทวิจัยจนได้แนวทางที่เขาเชื่อ และเขาถนัด
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
Line : https://MrStock.me/line( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)
คอร์ส หุ้น vi มือใหม่ ง่ายกว่าอ่านเอง รับประกัน