Greenshoe option คืออะไร เกี่ยวข้องกับการ IPO อย่างไร

Greenshoe คือ การนำหุ้นของผู้บริหารมาสำรองไว้สำหรับการขาย IPO เพื่อรองรับความต้องการที่มากกว่าจำนวนหุ้น ที่กำหนดไว้ และยังสามารถพยุงราคาตลาดหลังจากเปิดซื้อขายในช่วงแรกให้ไม่ต่ำกว่าราคา IPO ได้  

ความหมายของ Greenshoe option

เรียกอีกชื่อว่า Over-allotment option จะได้ยินบ่อย ๆ ช่วงการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO: Initial Public Offering) ซึ่งมีภาษาทางการคือ “การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มโดยมีเงื่อนไขซื้อคืน

คลิก เพื่ออ่านบทความเรื่อง “หุ้น IPO หาข้อมูลได้จากที่ไหน เปิด 8 จุด ที่ต้องอ่านใน Filling”

Greenshoe

จากชื่อทางการแล้ว ก็สามารถอธิบายได้ดังนี้

“การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่ม”

คือ ปกติการขายหุ้น IPO จะมีการกำหนดจำนวนหุ้นที่บริษัทต้องการเสนอขายให้กับประชาชนไว้จำนวนหนึ่ง และบริษัทจะทำ “การเสนอขายหลักทรัพย์ส่วนเพิ่ม” หากมองว่าประชาชนอาจมีความต้องการหุ้นมากกว่าจำนวนหุ้นที่กำหนดไว้ก็จะนำส่วนเพิ่มนี้มาขายให้ (ซึ่งจะทำผ่านผู้รับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือ Underwriter)

หุ้นส่วนเพิ่มนี้ จะเป็นการนำหุ้นของผู้บริหารมาขายให้

ซึ่งก็เป็นประโยชน์อีกทาง หากเมื่อเปิดตลาดมาแล้วราคาเปิดต่ำกว่าราคาจอง การเข้าไปซื้อหุ้นส่วนเพิ่มนี้จากผู้บริหารจะช่วยพยุงราคาหุ้นได้ และลดความไม่พอใจกับนักลงทุนที่จองหุ้นในราคา IPO ที่สูงกว่าไว้

Greenshoe

“โดยมีเงื่อนไขซื้อคืน”

คือ เงื่อนไขที่ Underwriter จะต้องไปซื้อหุ้นในตลาดมาคืนผู้บริหาร โดย underwriter มีสิทธิซื้อหุ้นที่ราคา IPO หรือราคาตลาดมาคืนก็ได้

โดยหุ้นที่มีการใช้  Greenshoe option จะขึ้นเครื่องหมาย ST หรือ Stabilization เพื่อแสดงให้เห็นว่าระหว่างนี้จะมีการซื้อของ Underwriter เพื่อนำไปคืนผู้บริหารหรือเจ้าของเดิม ซึ่งตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์จะต้องทำภายใน 30 วัน

Greenshoe

Greenshoe : Tips

Underwriter ก็จะบริหารความเสี่ยงเรื่องราคาหุ้นที่จะซื้อมาคืนผู้บริหารด้วยการทำ Call option ที่ราคา IPO กับบริษัทไว้

โดย Call option ที่ทำไว้ คือการมีสิทธิในการซื้อ ซึ่งจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้

ในกรณีที่ ราคาตลาด สูงกว่า ราคา IPO : Underwriter จะใช้สิทธิซื้อในราคา IPO

แต่ในกรณีที่ ราคาตลาด ต่ำกว่า ราคา IPO : Underwriter ก็เลือกที่จะไม่ใช้สิทธิ เพราะไปซื้อราคาที่ต่ำกว่ามาคืน จะได้กำไรมากกว่า

ชื่อของวิธีนี้ มีที่มาจากชื่อบริษัท Green Shoe Manufacturing Company ที่ใช้วิธีแบบนี้ในช่วงเสนอขายหุ้น IPO เมื่อปี ค.ศ.1919  

สัดส่วนการจัดสรรหุ้นส่วนเพิ่ม

สัดส่วนที่ Underwriter มีสิทธิจัดหาหุ้นส่วนเกิน เป็นไปตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ ทจ.35/2552 โดยกำหนดไว้ว่าหุ้นส่วนเกินนี้ต้องมีจำนวนไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายตาม filling ที่ยื่นมา

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/set/education/glossary.do?contentId=113
https://www.sec.or.th/TH/Pages/LAWANDREGULATIONS/FUNDOPERATION.aspx
ประกาศสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ ทจ.35/2552 https://publish.sec.or.th/nrs/4774s.pdf

Admin : Kamonwan