การเพิ่มทุนแบบ General Mandate และ เรื่องที่นักลงทุนต้องรู้

การเพิ่มทุนแบบ General Mandate ต่างจากการเพิ่มทุนทั่วไปตรงช่วงเวลาและวิธีการ คือ บริษัทจะขอมติเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นไว้ล่วงหน้า และเมื่อกรรมการบริษัทเห็นว่า บริษัทควรจะเพิ่มทุนก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องขอมติแล้ว

เรามาเริ่มกันที่ concept ของการเพิ่มทุนก่อน

การเพิ่มทุน คือ การที่บริษัท ต้องการเงินจากนักลงทุน เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยแลกกับการให้ส่วนแบ่งหรือ “หุ้น” แก่นักลงทุนนั่นเอง

รูปแบบของการเพิ่มทุนปัจจุบัน

มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้

1. การเพิ่มทุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน

เป็นการเพิ่มทุนที่บริษัทจะต้องแจ้งให้นักลงทุนทราบว่าจะนำเงินที่ได้ไปใช้ทำอะไร เช่น นำไปล้างขาดทุนสะสม ใช้หนี้ ขยายกิจการ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เป็นต้น

การเพิ่มทุนแบบ General Mandate

รูปแบบที่ 1 จะค่อนข้างคุ้นเคย ส่วนแบบ General Mandate นั้นเป็นหลักการที่หลายประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และอังกฤษ ใช้มานานแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้เมื่อปี วันที่ 15 มีนาคม 2554

2. การเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป (General Mandate)

General Mandate ในภาษาไทยให้ความหมายว่า เป็นการเพิ่มทุนแบบมอบอำนาจทั่วไป มีวิธีการ คือ บริษัทจะขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นไว้ล่วงหน้า โดยยังไม่กำหนดว่าจะนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปใช้ทำอะไร

และเมื่อเวลาผ่านไป กรรมการบริษัท มองว่าเป็นช่วงเวลาที่บริษัทควรทำการเพิ่มทุน กรรมการบริษัทก็มีอำนาจกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีการจัดสรร และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เลย ไม่ต้องมาขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นอีกแล้ว

ซึ่งช่วยลดขั้นตอนและสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงที

โดยการเพิ่มทุนแบบ General Mandate จะสามารถลดระยะเวลาได้ถึง 2-3 เดือน เมื่อเทียบกับแบบกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เนื่องจากบริษัทไม่ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่ทุกครั้งที่ต้องการเพิ่มทุนแล้ว

การเพิ่มทุนแบบ General Mandate

ประโยชน์ต่อบริษัท

  • เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเพิ่มทุนให้กับบริษัท
  • เพิ่มความคล่องตัวให้กับบริษัท
  • ลดขั้นตอน ค่าใช้จ่าย และระยะเวลา

ประโยชน์ต่อนักลงทุน

  • ยังได้รับผลตอบแทนและได้รับการคุ้มครองสิทธิเพียงพอ

หลักเกณฑ์ การเพิ่มทุนแบบ General Mandate

เงื่อนไขหลัก มีดังนี้

1. เงื่อนไขเกี่ยวกับ ผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน

บริษัทสามารถเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (RO) หรือผู้ถือหุ้นใหม่ (Non-RO) ที่ประกอบไปด้วย ประชาชนทั่วไป (PO) และบุคคลในวงจำกัด (PP)
ซึ่งจำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่เรียกชำระแล้วทั้งหมดจากทุกฝ่าย จะต้องไม่เกิน 30% ของทุนชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน

โดยหากแบ่งย่อยเป็นสัดส่วนของผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุน สามารถแบ่งได้ดังนี้

  • RO จะต้อง ไม่เกิน 30% ของทุนชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน
  • PO จะต้อง ไม่เกิน 20%* ของทุนชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน
  • PP จะต้อง ไม่เกิน 10%* ของทุนชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน

*โดยที่ PO และ PP ต้องรวมกันแล้ว ไม่เกิน 20% ของทุนชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน

การเพิ่มทุนแบบ General Mandate

2. ราคาที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน

ราคาที่เสนอขายต่อ RO จะไม่มีกำหนด ส่วนของ Non-RO จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก.ล.ต

นักลงทุนควรทำอย่างไร

  • อย่างแรกต้องเข้าใจผลกระทบหลังจากการเพิ่มทุนก่อน นั่นคือ Dilution Effect กล่าวง่าย ๆ คือ เมื่อเพิ่มทุน จะทำให้จำนวนหุ้นมีมากขึ้น เมื่อจำนวนหุ้นมากขึ้น จะทำให้ส่วนแบ่งต่าง ๆ ที่เราพึงจะได้รับตามสัดส่วนเดิม “น้อยลง” นั่นเอง เช่น กำไรต่อหุ้น เป็นต้น
  • แต่การเพิ่มทุนแบบ General Mandate เป็นวิธีที่ทำให้เกิด Control Dilution Effect สูงสุดไม่เกิน 20%
  • เมื่อบริษัทต้องการเพิ่มทุนแบบ General Mandate ซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าจะนำเงินไปทำอะไร เพราะฉะนั้นเราต้องมั่นใจว่า กรรมการหรือผู้บริหารที่เราให้อำนาจไปแล้ว จะนำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่เรามองไว้

เช่น ใช้เพื่อขยายกิจการ ซึ่งก็อาจส่งผลดีต่อเราในอนาคต

  • เราต้องดูการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท (Corporate Governance) นั้นว่ามีธรรมาภิบาลหรือไม่
  • ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ นโยบาย กลยุทธ์ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจมากน้อยเพียงใด

อ่านบทความเกี่ยวกับ Corporate Governance ได้ที่นี่ คลิก

Case Study: การเพิ่มทุนแบบ General Mandate

หุ้น PRINC : บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน)

เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและการบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชน โดยมีโรงพยาบาลในเครือเช่น โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน และโรงพยาบาลพิษณุเวช เป็นต้น

ที่มา https://www.thaijob.com/en/principalcapital

โดยบริษัทได้เผยแพร่มติคณะกรรมการครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เกี่ยวกับเพิ่มทุน ซึ่งกรรมการมีมติอนุมัติให้นำเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน 2564 นี้ เกี่ยวกับการขอเพิ่มทุนแบบ General Mandate จำนวน 346,233,682 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท รวม 346,233,682 บาท

โดยการเพิ่มทุนครั้งนี้จะเสนอขายให้กับ บุคคลในวงจำกัด ซึ่งคือการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 50 รายในรอบระยะเวลา 12 เดือน

ราคาที่จะเสนอขายนั้น จะต้องเป็นราคาที่ดีที่สุดตามสภาวะตลาด และอาจมีส่วนลดได้ไม่เกิน 10% ของราคาตลาดตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.

บริษัทระบุว่าสาเหตุของการเพิ่มทุนแบบ General Mandate คือ บริษัทมีแผนการลงทุนและขยายกิจการในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเงินที่ได้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำ M&A เพื่อมาเสริมสร้าง Synergies ให้กับบริษัท ฯ ในอนาคต

โดยการเพิ่มทุนนี้จะส่งเสริมให้สามารถสร้างรายได้และทำกำไรให้กับธุรกิจ รวมทั้งสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อผู้ถือหุ้นได้ และรักษาอัตราส่วนทางการเงินให้อยู่ในระดับที่ดี

นี่ก็เป็นตัวอย่างของการเพิ่มทุนแบบ General Mandate ที่เราสามารถติดตามได้จากข่าวของบริษัทที่ประกาศอย่างเป็นทางการบนหน้า website ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.set.or.th/th/products/financial/files/GeneralMandate.pdf
https://www.set.or.th/th/products/generalmandate/files/Brochure_General_Manade_01.pdf
https://www.set.or.th/th/products/financial/files/GeneralMandate.pdf
https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16142029247421&sequence=2021022601

Admin: Kamonwan