ความน่าสนใจของ หุ้น BLA หรือ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
ในช่วงที่ผ่านมานั้น หนึ่งในหุ้นที่อยู่ใน LikeStock25 Index คือ หุ้น BLA บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจประกันชีวิตและบริการวางแผนทางการเงินอย่างรอบด้าน ซึ่งวันนี้เราจะมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทว่า ทำไมเราถึงเลือกมาใส่อยู่ใน LikeStock25 Index
สัดส่วนรายได้
1) ประกันชีวิตสามัญ (Ordinary Life Insurance)
- แบบชำระเบี้ยครั้งเดียว 8.71 %
- แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance) 42.23 %
- สัญญาเพิ่มเติม (Rider) 6.20 %
2) การประกันชีวิตกลุ่ม (Group Life Insurance) 8.17 %
3) แบบคุ้มครองสินเชื่อ 19.61 %
การจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย
- ผ่านตัวแทน 38.46 %
- ผ่านธนาคาร 55.97 %
- อื่น ๆ 5.57 %
ส่วนแบ่งทางการตลาด
- AIA 23.07 %
- ไทยประกันชีวิต 15.07 %
- เมืองไทยประกันชีวิต 13.72 %
- กรุงไทย-แอกซ่าประกันชีวิต 9.65 %
- ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต 7.35 %
- กรุงเทพประกันชีวิต 5.84 %
- IFWD 5.30 %
- Allianz Ayudhya 5.29 %
- Prudential Life Assurance 4.02 %
- ไทยสมทุรประกันชีวิต 2.37 %
สัดส่วนสินทรัพย์เพื่อการลงทุน
รายการเทียบเท่าเงินสด 1.36 % อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 0.39 %
หลักทรัพย์รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ 60.68 % อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.62 %
ตราสารหนี้ภาคเอกชน 34.57 % อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3.92 %
ตราสารหนี้ต่างประเทศ 2.71 % อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 4.48 %
เงินให้กู้ยืมโดยมีหลักประกัน 0.68 % อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.36 %
งบการเงิน หุ้น BLA
ปี 2560 รายได้ 56,276.81 ล้านบาท GPM 7.13% กำไร 3,626.94 ล้านบาท
NPM 6.44%
ปี 2561 รายได้ 53,766.62 ล้านบาท GPM 10.52% กำไร 4,960.23 ล้านบาท
NPM 9.23%
ปี 2562 รายได้ 48,751.24 ล้านบาท GPM 10.49% กำไร 4,384.30 ล้านบาท
NPM 8.99%
ปี 2563 รายได้ 47,238.51 ล้านบาท GPM 4.18% กำไร 1,608.14 ล้านบาท
NPM 3.40%
ประเด็นที่ควรระวัง
ในไตรมาส 4 กำไรเหลือ 163.63 ล้าน ดูน้อยกว่าปกติ เกิดจาก
- การขายขาดทุนในเงินลงทุน 92 ล้าน ปกติจะมีกำไรประมาณไตรมาสละ 130 ล้าน
- การปรับรับรู้การขาดทุนจากการปรับมูลค่าสัญญา Forward ทำให้ขาดทุน 290 ล้าน
- การตั้งสำรอง 128 ล้าน เกิดจากการตั้งสำรองหุ้นกู้
ประเด็นที่น่าติดตาม
- ในปี 64 มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Gain First เป็นประกันที่อัตราผลตอบแทนขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยตลาด ช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย และมีภาระการตั้งสำรองลดลง ทำให้ FYP (คือ เบี้ยรับปีแรก หรือลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น) ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในเบี้ยประกันรับครั้งแรก
- มีการรวมกับพาร์ทเนอร์ ที่เป็น Non Bank จะทำให้ลูกค้าส่วนหนึ่งมีการแบ่งมาซื้อประกันมากยิ่งขึ้น
- EV (Embedded Value) คือ มูลค่าปัจจุบันของกรมธรรม์ที่ขายไปแล้วทั้งหมด หรือมูลค่าถ้าไม่มีการขายประกันเพิ่ม ราคาควรจะเป็นเท่าไร ในปี 64 มีมูลค่าเท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ซึ่งมีการปรับตัวเพิ่มจากปี 63 เนื่องจาก ROI (Reture On Invesment) ปี 64 มีการปรับเพิ่มจาก Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้น
- มีการขายผ่านตัวแทนมากขึ้น 10% เพื่อลดความเสี่ยงจากช่องทางการจัดจำหน่าย และส่งเสริมให้พนักงานหน้าสาขาเข้าใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- Bond Yield มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดการตั้งสำรองน้อยลง และในปี 63 มีการตั้งสำรองไปแล้ว และบริษัทอาจมีกำไรจากเงินลงทุนเพิ่มด้วย
ความเสี่ยงของบริษัทประกันชีวิต
ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการกำหนดราคา
ความเสี่ยงด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการกำหนดอัตราเบี้ยประกัน หมายถึง ข้อบกพร่อง ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย รวมถึงความเสี่ยงที่อัตราเบี้ยประกันภัยจะไม่เพียงพอสำหรับภาระผูกพันตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขของสัญญาประกันภัย
ด้านการพิจารณารับประกันภัย
ความเสี่ยงด้านการพิจารณารับประกันภัย อาจเกิดขึ้นจากการประเมินความเสี่ยงไม่เหมาะสมในการพิจารณารับประกัน
ด้านการกำหนดเงินสำรองประกันภัย
ความเสี่ยงด้านการกำหนดเงินสำรองประกันภัย คือ ความเสี่ยงที่เงินสำรองประกันภัย ซึ่งบริษัทรับรู้ในงบการเงินอาจจะไม่เพียงพอต่อภาระผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย
การกระจุกตัวของความเสี่ยงด้านการรับประกันภัย
ความเสี่ยงจากการกระจุกตัว คือ ความเสี่ยงที่บริษัทอาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ทั้งนี้ บริษัทกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว ด้วยการจัดสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้กระจายในกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายทั่วภูมิภาค
ด้านอัตราดอกเบี้ย
ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึง ความเสี่ยงที่มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินจะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด
บริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอัน เกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์และเงินให้กู้ยืม
ศัพท์ของธุรกิจประกันที่ควรรู้
- EV (Embedded Value) คือ มูลค่าปัจจุบันกิจกรรมบนกรมธรรม์ที่ขายไปแล้ว หรือมูลค่ากรมธรรม์ที่ไม่มีการขายประกันเพิ่มแล้ว ควรเป็นเท่าไร
- TP (Total Premium) คือ มูลค่าเบี้ยประกันภัยทั้งหมด หรือ
TP = FYP + RYP
- FYP (First Year Premium) คือ มูลค่าเบี้ยประกันรับปีแรก บ่งบอกถึงการเติบโตของเบี้ยประกัน
- RYP (Renewal Year Premium) คือ มูลค่าเบี้ยประกันรับต่อ หรือลูกค้าเบี้ยประกันที่มีการต่อกรมธรรม์
- VNB (Value Of One Years New Business) คือ การหามูลค่าของเฉพาะกรมธรรม์ใหม่ที่เพิ่งขายออกไปว่า ประกันที่ขายไปมีกำไรดีไหม
*บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำหุ้นแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่การแชร์มุมมองจากข้อเท็จจริงเท่านั้น นักลงทุนโปรดใช้วิจารณญาณ
แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=qrDyhyfUpnI
ที่มาภาพปก https://extsvc.bangkoklife.com/SmartAgentLogin
Admin:Tanyanan